object991492429

โกโก้กับสุขภาพ

โกโก้ เป็นสารอาหารประเภทถั่วที่ใช้ชงเป็นเครื่องดื่มกันมานานกว่า 400 ปี
โดย ชาวมายา ในทวีปอเมริกาใต้เป็นผู้รู้จัก โกโก้ เป็นอย่างดี แต่ต่อมา โกโก้
จึงได้รับความนิยมใช้ดื่มกันทั่วทั้งยุโรปและทั่วโลก โกโก้ มีสรรพคุณที่ดี
ต่อร่างกายมนุษย์เป็นอย่างมากโดยมีองค์ประกอบที่เป็นสารเคมีมากกว่า
700 ชนิดรวมกัน ส่วนประกอบที่สำคัญของ โกโก้ คือสารเคมีกลุ่มโพลีฟินอลส์
(polyphenols) ซึ่งประกอบด้วยสารฟลาโวนอลส์
(flavonols), ฟลาวานอลส์ (flavanols),
ฟลาวาโนน (flavanones), ฟลาโวนส์ (flavones),
ไอโซฟลาโวนส์ (isoflavones) และแอนโธซัยยามีนส์
(anthrocyannamines) เป็นต้น  สารเคมีเหล่านี้
มีคุณสมบัติที่แรงในการทำให้เกิดการต่อต้านในการเกิดสารอนุมูลอิสระ
(antioxidants), ต่อต้านการเกิดการอักเสบ
(anti-inflammatory) และป้องกันการเกิดภาวะแข็งตัว
ของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย (atherosclerosis)

cocoa

p6-4

โกโก้ ยังมี ผลดีต่อสมอง คือทำให้ความจำ ความคิด การตัดสินใจ การรับรู้ การเรียนรู้ ตลอดจนความรู้สติดีขึ้น แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องดื่ม โกโก้ ในขนาดสูงทุกวันติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือน โดย โกโก้ จะมีผลต่อสมองทางส่วนความจำ คือ บริเวณฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ในขณะที่การดื่ม โกโก้ ในขนาดต่ำ ๆ จะไม่มีประสิทธิผลดังกล่าว
        
นอกจากนี้ โกโก้ ยังมีส่วนผสมที่มีกาเฟอีน และธีโอโบรมีนที่ช่วยกระตุ้นสมองส่วนกลางอีกด้วย ดังนั้น โกโก้ และช็อกโกแลต (ผลิตภัณฑ์จาก โกโก้ ที่มี นม เนยและน้ำตาลผสมในสัดส่วนต่าง ๆ กัน) จึงมีคุณสมบัติทำให้สมองของคนเราสดชื่น อารมณ์ดี แจ่มใสและเป็นสุข เพราะทำให้เกิดการหลั่งของสารสื่อประสาทต่าง ๆ ได้แก่ สารโดปามีน สารเซโรโทนิน และ สารเอ็นโดรฟิน อีกด้วย
        
มีรายงานทางการแพทย์ในระยะหลัง ๆ นี้พบว่าการดื่ม โกโก้ วันละ 2 ช้อนชาเป็นประจำจะมีผลทำให้สมองมีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นในด้านความจำ และยังสามารถแก้ไขภาวะความจำถดถอยในผู้สูงอายุ (age-related memory deficit) ได้อีกด้วย

ในเดือนตุลาคม 2557 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ Scott A Small แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้ศึกษาวิจัยในผู้สูงอายุที่มีภาวะความจำถดถอยลงเรื่อย ๆ ตามอายุ และพบว่าในกลุ่มนี้สมองที่เกี่ยวกับความจำมีความเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและความจำที่เปลี่ยนไป ก็คือสมองในส่วนที่มีชื่อว่า ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) รายละเอียดการศึกษามีดังนี้ (ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Neuroscience)
        
โดยคณะผู้วิจัยได้ศึกษาในผู้สูงอายุจำนวน 37 รายที่มีอายุระหว่าง 50-69 ปี โดยเข้าร่วมในโครงการวิจัยให้ดื่ม โกโก้ ในขนาดสูง (900 มิลลิกรัมต่อวัน) เปรียบเทียบกับดื่ม โกโก้ ในขนาดต่ำ (10 มิลลิกรัมต่อวัน) ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน โดยมีการตรวจวัดภาพถ่ายของสมอง (brain imaging) ด้วยวิธี FMRI และการทดสอบสมรรถภาพของสมองในช่วงขณะก่อนและหลังทำการทดลอง โดยการตรวจ FMRI สมองโดยวัดทั้งการไหลเวียนเลือดสู่สมองส่วนต่าง ๆ และศึกษาขนาดของ dentate gyrus ด้วย นอกจากนี้ยังมีการตรวจวัดค่า metabolism ของสมองในส่วนต่าง ๆ พร้อมทั้งตรวจทดสอบสมรรถภาพสมองโดยวิธีมาตรฐานต่าง ๆ จำนวน 20 ชนิด พบว่าผู้สูงอายุที่ดื่ม โกโก้ ในขนาดสูงเป็นเวลา 3 เดือนมีผลทำให้การทดสอบสมรรถภาพสมองดีขึ้นในทุกด้าน (ทั้ง 20 แบบทดสอบมาตรฐาน) และมีผลให้สมรรถภาพสมองของผู้ทดลองเปลี่ยนแปลงไปโดยสมองกลับมามีคุณสมบัติและความสามารถเทียบเท่ากับสมองของคนอายุ 30-40 ปี มีแต่ในกลุ่มผู้ทดลองที่ดื่มโกโก้ในขนาดต่ำเป็นเวลา 3 เดือนพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง

p6-5

p6-7


Layer 2

การศึกษาครั้งนั้นกำหนดให้เด็กชาวเม็กซิกันในเมืองหลวง ดื่ม โกโก้ดำ ในขนาดสูงโดยกำหนดให้มีปริมาณ โกโก้ สูงถึง 30 กรัมต่อวัน ซึ่งเท่ากับมี สารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ราว 680 มิลลิกรัม และศึกษาค่า metabolite ratio ที่ตำแหน่งบริเวณ frontal white matter และบริเวณ hippocampus ทั้งก่อนและหลังการดื่ม โกโก้

ผลการศึกษาพบว่าการดื่ม โกโก้ ในขนาดสูงมีผลทำให้ค่า plasma endothelin – 1 มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี = 0.0002) และเด็กจำนวน 15 คน ใน 18 คน (ร้อยละ 83) ทำคะแนนในการทดสอบมาตรฐานของ simple short memory tasks ดีขึ้นชัดเจนสำหรับค่า emlothelial dysfunction ที่เกิดจากผลกระทบของมลพิษทางอากาศ และค่า endothelin-1 ที่ลดลงภายหลังดื่ม โกโก้ ในขนาดสูงเป็นเวลา 30 วันติดต่อกันนั้น เราสามารถยืนยันได้แน่ชัดว่าก่อให้เกิดผลดีต่อการทำงานของเซลล์สมองในเด็ก

โกโก้ นอกจากจะประกอบด้วยสาร flavonoids แล้วยังมีส่วนประกอบที่สำคัญอื่น ๆ อีกคือ กาเฟอีน (caffeine) และ theobromine โดยกาเฟอีนนั้นสารที่พบมากในกาแฟและชา แต่พบใน โกโก้ ในปริมาณที่น้อยกว่ามาก สำหรับกาเฟอีนมีฤทธิ์ในการกระตุ้นต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้สมองตื่นตัวและมีคุณสมบัติลดการเกิดโรคกลุ่ม neurodegenerative ได้

อนึ่งใน โกโก้ ธรรมชาติยังมีส่วนประกอบของสารเมธิลแซนธีน (mehylxanthine) ซึ่งมีสารเคมีคล้ายคลึงกับกาเฟอีน แต่พบในปริมาณที่ต่ำมากและไม่เพียงพอที่จะสามารถทำให้เกิดผลต่อระบบประสาทได้ นอกจากนี้ใน โกโก้ ยังมีสารชื่อ theobromine ซึ่งมีสูตรโครงสร้าง คล้ายกันกับกาแฟและmethylxanthine และฤทธิ์ของ สารธีโอโบรมีน (theobromine) นี้ทำให้เกิดผลดีต่อสมองอีกด้วย

p6-6

 

ทำไม?กินช็อคโกแล็ตแล้วรู้สึกมีความสุข


p6-7

 

-ช็อคโกแล็ตกระตุ้นให้สมองหลั่งสารสื่อประสาทชื่อ phenylethlamine
หรือที่เรียกว่า "the love drug" ทำให้รู้สึก"รัก" และ"มีความสุข"
-ช่วยลดฮอร์โมนเคอร์ติซอล(Cortisol)ที่ก่อให้เกิดความเครียด วิตกกังวล เจ็บปวด
-กระตุ้นการหลั่ง serotoninทำให้อารมณ์ดี
-ช็อคโกแล็ตมีกรดอะมิโน tryptophan สูงช่วยการหลั่งสารสื่อประสาท
-มีกรดไขมัน anadamineกระตุ้นการผลิตสาร dopamineในสมอง
-การกินช็อคโกแล็ตช่วยกระตุ้นการหลั่งสารแห่งความสุข Endorphine

 

ประโยชน์ต่อสุขภาพของโกโก้

 

h1

       สารฟลาโวนอยด์ที่อยู่ในโกโก้มีความเชื่อมโยงโดยตรงต่อระบบหัวใจ ซึ่งเจ้าสาร
ชนิดนี้สามารถช่วยลดความดันโลหิต รวมทั้งช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี
ที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วย
       ในช็อคโกแลตมีสารสำคัญ 2 ชนิดชื่อว่า Theobromine และ Flavonoid สารทั้ง
สองนี้มีผลต่อการขยายหลอดเลือด กระตุ้นหัวใจ ทำให้สดชื่น ควบคุมไขมันและชะลอวัย


h2

     นายแพทย์ Alan Hirsch ผู้ก่อตั้งองค์กรการวิจัยและการรักษาด้วยกลิ่นและ
รสชาติได้เปิดเผยว่า ผงโกโก้นั้นมีกลิ่นหอมซึ่งช่วยทำให้คุณเกิดความรู้สึกพึงพอใจทุก
ครั้งที่ได้กลิ่น เพราะกลิ่นโกโก้จะไปกระตุ้นสารสื่อประสาทที่อยู่ในสมองซึ่งถูกจำลองให้
เหมือนกับการที่เรารับประทานช็อกโกแลต ทำให้เรารู้สึกอารมณ์ดีขึ้นนั่นเอง


h3

     เชื่อหรือไม่ว่าผงโกโก้สามารถช่วยบำรุงผิวพรรณได้ ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อแล้วล่ะค่ะ
เพราะผงโกโก้ถูกใช้ในการบำรุงรักษาผิวมาตั้งแต่โบราณ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิว
หนังอย่างแพทย์หญิง Ava Shamban กล่าวว่า สารในผงโกโก้มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูล
อิสระที่ช่วยบำรุงเซลล์ผิวหนังและช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายได้


h4

     Elizabeth Somer นักโภชนบำบัดและผู้เขียนหนังสือ Eat Your Way to
Happiness ได้อธิบายว่าในโกโก้มีสารประกอบมากกว่า 300 ชนิดที่ส่งผลกระทบในแง่
บวกแก่สารเคมีที่อยู่ในสมอง ซึ่งสารบางชนิดก็ช่วยเพิ่มระดับของเอ็นดอร์ฟินและ
เซโรโทนินในสมอง ซึ่งสารทั้งสองชนิดเป็นสารที่ทำให้อารมณ์ดี

h5

     ในโกโก้มีสารอัลคาลอยด์ Theobromine ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคาเฟอีน ช่วยกระตุ้น
ประสาทและช่วยลดอาการเมาค้าง ปวดศีรษะตอนเช้าหลังจากดื่มเหล้าได้


h6

     นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาศึกษาพบว่า โกโก้ร้อน 1 ถ้วยนั้นอุดมไปด้วยสารต่อต้าน
อนุมูลอิสระ มากกว่าเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ชา หรือ ไวน์แดง
งานวิจัยในประเทศจีน พบว่า คนที่ดื่มน้ำชาเป็นประจำนั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งน้อย
กว่าคนที่ไม่ดื่มกว่าครึ่งหนึ่ง นักวิจัยจากประเทศฝรั่งเศสรายงานว่า ดื่มไวน์แดงวันละแก้ว
อาจช่วยลดโอกาสความเสี่ยงของโรคหัวใจ และในปี 1998 ได้มีการศึกษากับคนอเมริกัน
กว่า 8,000 คนพบว่าช็อกโกแลต ซึ่งผลิตมาจากโกโก้ นั้นอาจช่วยให้อายุยืนขึ้น
เนื่องจากอุดมไปด้วย โพลีฟีนอล ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยกวาดล้างของ
เสียที่ผลิตจากร่างกาย โดยของเสียเหล่านั้นมีส่วนทำลายเซลล์ และก่อให้เกิดมะเร็งได้
ในการศึกษาล่าสุดนี้ ดร. ชาง ยง ลี และคณะ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ในนิวยอร์ก
ได้ทำการทดสอบโดยวัดระดับสารต่อต้านอนุมูลอิสระใน ชา ไวน์แดง และโกโก้ พบว่า
โกโก้ถ้วยหนึ่งนั้นมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์มากที่สุด โดยมีมากกว่า ไวน์แดง 1 แก้วถึง
2 เท่า มากกว่าชาเขียว 1 ถ้วยถึง 3 เท่า และมากกว่าชาดำถึง 5 เท่าเลยทีเดียว


h7

     เชื่อกันว่าช็อกโกแลตทำให้อยากมีเซ็กส์มากขึ้น เพราะในช็อกโกแลตมีสารกระตุ้น ที่มี
ผลต่อหัวใจ และระบบประสาทเมื่อรับประทานช็อกโกแลต หัวใจจะเต้นแรงขึ้น รู้สึกคึกคัก
เล่ากันว่า นักรักชื่อกระฉ่อนโลกอย่างจิอาโคโม คาสซาโนวา (1725-1795) กินช็อกโกแลต
ก่อนขึ้นเตียงกับผู้หญิงที่หลงเสน่ห์ ด้วยช็อกโกแลตขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารกระตุ้นอารมณ์ใคร่


h8

     นักวิจัยพบว่า Platelets ในเลือดของร่างกายผู้ที่ดื่มโกโก้มีการจับตัวเป็นก้อนน้อยกว่า
ทั้งนี้ Platelets เป็นส่วนประกอบสำคัญในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ทำให้เลือดจับตัวเป็น
ลิ่มหรือก้อนเมื่อเราบาดเจ็บ แต่อาจจับตัวกันหนาแน่นเป็นลิ่มเหนียวข้นเกินไป ซึ่งอาจทำ
ให้เกิดการอุดตันในร่างกายได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต โรคสมองขาดเลือด
และอาการพิการบางส่วน อัมพฤกษ์ หรืออัมพาต